สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 18-24 ก.ค.59

ข่าวสัปดาห์ 18-24 ก.ค. 2559

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.39 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 21.56 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.43
     ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
     ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 889.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.91 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้น จากตันละ 886.25 ดอลลาร์สหรัฐ (30.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,056.50 ดอลลาร์สหรัฐ (36.74 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,051.80 ดอลลาร์สหรัฐ (36.72 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และเพิ่มขึ้น ในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท

ข่าวสัปดาห์ 18-24 ก.ค. 2559

ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
     ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.12 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.48
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
     ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข่าวสัปดาห์ 18 - 24 ก.ค. 59

 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.29 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.22 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.71 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 13.84
     ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.10 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.42 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.07
      ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,389 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 271.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,460 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 71.00 บาท

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

      กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,009.25 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 961.40 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 4.98 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ และเวียดนาม มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 131.45 ล้านตัน ลดลงจาก 135.95 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 3.31 โดยบราซิล ปารากวัย และเม็กซิโก ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ เวียดนาม ไต้หวัน อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
      ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 344.48 เซนต์ (4,774 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 355.00 เซนต์ (4,939 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.96 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 165.00 บาท

บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559)

 

หน่วย : ล้านตัน

รายการ

ปี 2559/60

ปี 2558/59

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

206.90

208.51

-0.77

ผลผลิต

1,010.74

959.79

5.31

นำเข้า

131.45

135.95

-3.31

ส่งออก

131.45

135.95

-3.31

ใช้ในประเทศ

1,009.25

961.40

4.98

สต็อกปลายปี

208.39

206.90

0.72

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ

ข่าวสัปดาห์ 18-24 ก.ค.2559

 

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
     ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2559 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 73.26 เซนต์ (กิโลกรัมละ 56.85 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 70.48 เซนต์ (กิโลกรัมละ 54.91 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.94 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.94 บาท

ข่าวรายสัปดาห์ 18-24 ก.ค..59

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงาน

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 

     การผลิตถั่วเหลืองทั่วโลกจะลดลงในเดือนนี้เนื่องจากผลผลิตในบราซิลและอินเดียต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ การนำเข้าจะลดลงในอียิปต์ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ด้านการส่งออกลดลงในการส่งออกของบราซิล ซึ่งทำให้สต็อกของโลกจะลดลงในเดือนนี้ ราคาถั่วเหลืองสหรัฐอเมริกาฤดูกาลเฉลี่ย ที่ 9.05 ดอลลาห์สหรัฐฯต่อบุชเชล 


ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,049.73 เซนต์ ( 13.58 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,105.93 เซนต์ ( 14.36 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.08
     ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 361.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 12.74 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 380.17    ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 13.43 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.86
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.77 เซนต์ ( 23.86 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.48 เซนต์ ( 23.73 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.95

 

หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

18-24 กรกฎาคม 2559

 

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

    ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จากปัจจัยบวกด้านอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดมีปริมาณน้อย เนื่องจาก แหล่งผลิตส่วนใหญ่มีฝนตก เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และผู้ประกอบการในประเทศขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อส่งมอบ ทำให้มีความต้องการซื้อของ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบจากราคาชี้นําตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ ซึ่งมีการเสนอขายในราคาที่สูง ความผันผวนจากการแข็งค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อีกทั้งนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย และรอผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในสัปดาห์หน้า

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
    1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.18 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.82บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94
    2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.68 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.99
    3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.18 บาท เพิ่มขึ้นจาก 46.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.04
    4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.91 บาท เพิ่มขึ้นจาก 21.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34
    5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.74 บาท ลดลงจาก 18.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.04 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.21
    6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.76 บาท เพิ่มขึ้นจาก 42.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.05 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.80

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.20 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 9.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.49
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 9.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.79
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.30 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.45 บาท เพิ่มขึ้นจาก 37.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.23 บาท หรืออร้อยละ 3.30
ท่าเรือสงขลา
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 9.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.55
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.80 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.52 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 9.28 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.86
    3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.55 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.30 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.87
    4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.20 บาท เพิ่มขึ้นจาก 36.97 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.23 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ และโตเกียว ปรับเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยจากนักลงทุนตอบรับการที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) อัดฉีดเงินจำนวน 3 หมื่นล้านหยวน (4.49 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับระบบการเงิน และการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) พร้อมที่จะใช้เครื่องมือสร้างเสถียรภาพในตลาด และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 0 รวมทั้งคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ ECB ที่ระดับร้อยละ -0.4 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ระดับร้อยละ 0.25 และคงวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการ
ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 8 หมื่นล้านยูโรต่อเดือน ขณะที่ยอดจําหน่ายบานมือสองเดือนมิถุนายนของอเมริกา อยู่ที่ระดับ 5.57 ล้านยูนิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10 เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 9 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยได้แรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จํานองที่อยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2556 และ
มีชาวอเมริกันยื่นขอสวัสดิการวางงานจำนวน 253,000 คน ซึ่งต่ำสุดในรอบ 3 เดือน

ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 186.30 เซนต์สหรัฐฯ (65.79 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 166.84 เซนต์สหรัฐฯ (58.18 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 19.46 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.66
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.75 เยน (56.65 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 166.44 เยน (55.58 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 8.31 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.99

อ้อยและน้ำตาล

สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ

รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศฉบับปิดหีบ
     ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทราย(ฉบับปิดหีบ)มีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลจำนวน 94.05 ล้านตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 9.79 ล้านตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 6.54 ล้านตัน และน้ำตาลทรายขาว 3.25 ล้านตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.95 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 104.05 กก.ต่อตันอ้อย

สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก หมายเลข 11 (เซนต์/ปอนด์)


เดือนกำหนดราคา

ราคาสูงสุด

ราคาต่ำสุด

ราคาปิดเมื่อวันที่

ราคาปิดเมื่อวันที่

เปลี่ยนแปลง

20-ก.ค.-59

13-ก.ค.-59

เพิ่ม(+),ลด(-)

ต.ค.-59

19.50

19.16

19.28

19.48

-0.20

มี.ค.-60

19.76

19.45

19.56

19.75

-0.19

พ.ค.-60

19.13

18.88

18.96

19.06

-0.10

ก.ค.-60

18.56

18.33

18.41

18.51

-0.10

ต.ค.-60

18.20

17.99

18.08

18.14

-0.06

มี.ค.-61

18.05

17.87

17.95

17.98

-0.03

พ.ค.-61

17.56

17.45

17.51

17.51

-

ก.ค.-61

17.24

17.13

17.22

17.21

+0.01

ต.ค.-61

17.04

17.03

17.06

17.06

-

มี.ค.-62

-

-

17.03

17.00

+0.03

พ.ค.-62

-

-

16.62

16.52

+0.10

ราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดลอนดอน หมายเลข 5 (เหรียญสหรัฐฯ/เมตริกตัน)


เดือนกำหนดราคา

ราคาสูงสุด

ราคาต่ำสุด

ราคาปิดเมื่อวันที่

ราคาปิดเมื่อวันที่

เปลี่ยนแปลง

20-ก.ค.-59

13-ก.ค.-59

เพิ่ม(+),ลด(-)

ต.ค.-59

537.30

530.80

533.90

538.80

-4.90

ธ.ค.-59

534.90

529.10

532.30

535.80

-3.50

มี.ค.-60

531.70

526.10

528.90

532.90

-4.00

พ.ค.-60

523.50

518.50

520.40

524.00

-3.60

ส.ค.-60

511.60

511.40

511.40

513.80

-2.40

ต.ค.-60

491.60

491.50

491.60

490.80

+0.08

ธ.ค.-60

479.60

479.30

479.30

480.80

-1.50

 

 


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี